บทความ
ป้องกันโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอย่างไร
โรคกระดูกพรุน คือ อาการของมวลกระดูกที่มีความหนาแน่นลดลงผิดปกติไม่เป็นไปตามกลไกของธรรมชาติ และสถานการณ์ปัจจุบันทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้นทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ซึ่งการเกิดโรคดังกล่าว มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก ผู้บางรายที่มีอาการรุนแรงกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้โรคกระดูกพรุนมาเยือน ต้องลด “ปัจจัยเสี่ยง” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
- ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือ เป็นไปตามกลไกธรรมชาติ ได้แก่
- อายุที่เพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง
- เพศ ซึ่งเพศหญิงมีความเสี่ยงมากกว่าเพศชาย
- กรรมพันธุ์ เสี่ยงในการได้รับยีนส์ด้อยมากได้เช่นกัน
- ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนที่สามารถแก้ไขได้ คือ เกิดจากการกระทำ สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่
- ขาดแคลเซียม
- ไม่ออกกำลังกาย
- ดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยในกลุ่มนี้สามารถปรับพฤติกรรมในทางตรงข้ามได้ จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และความเสี่ยงของกระดูกพรุนได้