บทความ / ผิว
5 ข้อสังเกต เสี่ยงภาวะกระดูกพรุนหรือไม่
กระดูกพรุน (Osteoporosis) ภัยเงียบที่ไม่มีใครอยากพบเจอ เนื่องจากโรคดังกล่าว เป็นอาการที่เกี่ยวกับโครงสร้างกระดูกจากภายในที่เปราะบางลงเรื่อย ๆ กว่าจะแสดงอาการ หรือ ผู้ป่วยเริ่มรู้ตัวถึงความผิดปกติ ก็มักจะมีอาการที่รุนแรงไปแล้ว ส่งผลให้การสังเกตตนเองเป็นเรื่องจำเป็นมาก ซึ่งมี 5 ข้อสังเกตภาวะเสี่ยงโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ต่อไปนี้
- เริ่มมีอาการปวดกระดูกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจุดยอดนิยมที่ปวด จะเป็นบริเวณหลัง ข้อมือ หรือสะโพก เป็นต้น
- รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดจากกระดูกมีรูปทรงที่ไม่เหมือนเดิม สิ่งที่ร่างกายปรากฏออกมาจึงผิดแปลกไปจากปกติที่เคยเป็น เช่น หลังคด หลังงอ หลังค่อม เป็นต้น
- ร่างกายขาดวิตามินดี โดยวิตามินดีช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดไป กระดูกก็จะไม่แข็งแรง
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น ตามปกติแล้ว เมื่ออายุเกิน 60 ปีขึ้นไป จะเข้าภาวะเสี่ยงกระดูกพรุนหมด ต้องได้รับการตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ
- เคยประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกอย่างรุนแรงมาก่อน เมื่อนานวันไป สามารถเกิดโรคกระดูกพรุนได้