บทความ
ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม จากโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดวัยใดก็ตาม ซึ่งอาจนำไปสู่กระดูกที่เปราะบาง จนในที่สุดอาจแตกหักได้ จึงมักถูกเรียกว่า “โรคเงียบ” ที่มักไม่มีอาการใด ๆ จนกว่ากระดูกจะหักนั่นเอง
ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนสูงถึง 35% เนื่องจากการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกใหม่ จะเริ่มสร้างช้าลง ส่งผลให้กระดูกของเราอ่อนแอลง และหักได้ง่ายขึ้น
การแตกหักของกระดูก อาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด บั่นทอนสุขภาพ และเสียค่ารักษาในระยะยาว ซึ่งภายในปี 2568 ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก อาจเพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านคน และมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 25.3 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
มาดูกันว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ? ที่เป็นปัจจัยสำคัญของโรคนี้
1. เพศหญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศชาย
2. ผู้สูงวัยมีความเสี่ยงสูงกว่าวัยรุ่น
3. วัยหมดประจำเดือน มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง การปกป้องกระดูกจึงน้อยลงตามลำดับ
4. โครงร่างของผู้หญิงเอเชีย จะมีความเสี่ยงสูงกว่าสาวแอฟริกันหรืออเมริกา
เนื่องจากมีโครงกระดูกเล็ก
5. พันธุกรรมของคนในครอบครัว ที่เป็นโรคกระดูกพรุน จะมีความเสี่ยงสูง
6. โรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเบาหวาน และหมดประจำเดือนก่อนวัย
ดังนั้นโรคกระดูกพรุน จึงถือว่าเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม
ถ้าอยากลดความเสี่ยง อาจจำเป็นต้องเพิ่ม สารอาหารอย่างแคลเซียม และวิตามินดีให้มากขึ้น รวมไปถึงโปรตีนวิตามินเค วิตามินซี แมกนีเซียม สังกะสี และอาหารเสริมกระดูกต่าง ๆ เพื่อให้สุขภาพกระดูกแข็งแรงขึ้น ไม่ต้องห่วงเรื่องโรคกระดูกพรุนอีกต่อไป